BLOG

backup

Backup Backup Backup! ทำ Backup กันเดี๋ยวนี้

ช่วงนี้ขยันเขียนมากเลย ต้องขอบคุณน้องโฟล์คที่มาช่วยแบ่งเบาภาระไปได้ เพราะก่อนหน้านี้ทำงาน 2 คนเท่ากับทำงานคนละ 50% ตอนนี้ 3 คน ก็เหลือคนละแค่ 33% กว่าๆ ผมก็เลยมีเวลาอีก 17% เหลือว่างมาทำอย่างอื่นเพิ่มได้ อิอิ :D

เรื่องนึงที่เล็งจะเขียนมานานแล้ว ก็คือ การสำรองข้อมูล หรือ "Backup" ซึ่งก็เป็นหัวข้อที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้

ทำไมเราควรมี Backup?

เรื่องการ Backup งานนี้ เป็นอะไรที่สำคัญมากๆ ด้วยความที่ว่า งานที่เราทำแทบทั้งหมดในตอนนี้ อยู่ในคอมพิวเตอร์ "ไฟล์งาน" พวกนี้ เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นความเป็นความตายของอาชีพได้เลย วันนี้ที่ผมมีแรงบันดาลใจลุกขึ้นมาเขียนเรื่องนี้ได้ ก็เพราะว่า...เมื่อประมาณต้นเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ผมเพิ่งทำข้อมูลงานทั้งหมด หายไปเฉยๆ เลยมาหยกๆ นั่นเอง~!!! โชคดีมาก ที่บังเอิญมี Copy ข้อมูลไว้ เพื่อจะย้ายเครื่อง หรือทำอะไรสักอย่างเนี่ยแหละ เลยถึงสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้บางส่วน เรียกได้ว่า ถ้าผมไม่มี Copy ชุดนี้เก็บไว้ "โดยบังเอิญ" เว็บไซต์ LEVEL51 และโปรแกรมแทบทั้งหมดที่เคยทำอาจจะต้องมานั่งรื้อกันใหม่เลยทีเดียว คือพองานวุ่นมากๆ น้องบอกให้มาแก้เว็บแล้ว ส่งขึ้น Server และก็ Commit ในเครื่องแล้ว แต่ลืมไม่ได้ส่งเข้าที่เก็บ Source Code บน Server ก็มี (Push เข้า Git) 

แต่ลูกค้าของเราบางท่าน ก็ไม่ได้โชคดีแบบนี้ เรามีเคสที่ SSD, HDD เสีย เกิดขึ้นบ้างเหมือนกัน ซึ่งเกือบจะทุกเคส ก็คือไม่สามารถเอาข้อมูลอะไรออกมาได้เลย หรือออกมาได้แค่หน่อยเดียว แล้วก็อ่านไม่ติดละ หรืออ่านออกมา ไฟล์ก็เสีย

การที่มี "Backup" จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ และผมอยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของมัน และเริ่ม Backup เดี๋ยวนี้เลย

อะไรบ้าง ที่ไม่เรียกว่าการ "Backup" ?

[ออกตัว: ข้อความตรงนี้เขียนจากประสบการณ์ที่อ่านบทความจากหลายๆ ที่มานะ ไม่สามารถหาลิงค์อ้างอิงได้จ้า โปรดพิจารณาเนื้อหาตามไปด้วย]

บางทีเรามักจะสับสนระหว่าง Backup (การที่มีการสำรองข้อมูลเอาไว้) กับ Redundant (ตัวสำรอง) ซึ่งสองอย่างนี้ต่างกันมากๆ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ประสบกับเหตุการณ์ข้อมูลหายมาแล้วหลายรอบในชีวิตแบบผม อย่างตอนนี้ผมไม่มีรูปสมัยเด็ก-มหาวิทยาลัย รวมไปถึงไฟล์งานเก่าๆ ที่เคยทำไว้เหลืออยู่เลย เพราะ HDD หลักเสีย และก็พอจะเอาข้อมูลจาก HDD "Backup" (อยู่ในเครื่ิองเดียวกัน) มา ก็ปรากฏว่ามันก็เสียอีกเหมือนกัน และไฟล์ในนั้นที่อ่านออกมาได้ก็เสีย ผมรู้ซึ้งถึงความแตกต่างระหว่าง Backup กับ Redundant ตอนนั้นเลย

มีหลายอย่าง หลายวิธี ที่ผมเห็นเพื่อนๆ หรือลูกค้าใช้อยู่ ที่ดูเหมือนว่า มันจะเป็น Backup แต่ว่าจริงๆ แล้ว มันไม่ได้เป็นการ Backup ที่แท้จริง (มันเป็นแค่ Redundant) แต่มันก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลยนะ ขอลองไล่เรียงตั้งแต่ความเสี่ยงข้อมูลหายมากที่สุด ไปจนถึงน้อยที่สุด ตามนี้

1) Copy ไว้อีก Folder นึง หรือ เก็บไว้อีก Drive นึง "ในเครื่องเดียวกัน"

การ "Backup" แบบนี้ ถือว่าเจ้าตัวเริ่มมีความใส่ใจในความสำคัญของข้อมูลของตัวเองแล้ว แต่ว่าความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น

  • ตัว Hardware อาจจะเสียหาย : นั่นก็คือ SSD, HDD ในเครื่องเรา มันใช่ว่าจะอยู่ยงคงกระพัน มันสามารถพังได้ทุกเมื่อ ขึ้นอยู่กับดวง และการใช้งานของเราเองด้วย สำหรับ HDD จานหมุนนี่ ค่อนข้างจะแน่นอนเลยว่าประมาณ 3-4 ปี มันจะพัง ถ้าเกิดว่าเปิดใช้งานทุกวัน ส่วน SSD ผมเองใช้มาประมาณ 4-5 ปีแล้ว ยังไม่เจอเหตุนี้ ก็น่าจะพอเคลมได้ว่า SSD มันทนกว่า
  • เผลอไปลบ : Backup ที่เรามองเห็น เข้าถึงได้ง่ายๆ ก็มีโอกาสที่เราจะทำมันพังได้ง่ายๆ เหมือนกัน แค่กดผิด หรือ ที่เมากว่านั้น ก็อย่างเช่น เปิด Backup เก่าขึ้นมาดู เพื่อจะแก้แล้วกะเซฟเป็นไฟล์ใหม่ แต่ดันลืม Save As เป็นต้น
  • ติดไวรัส, Malware, Ransonware : ตัวโปรแกรมอันตรายเหล่านี้ ก็จะมองเห็นข้อมูล Backup แล้วทำให้ข้อมูลพวกนั้นติดไวรัสไปด้วย หรือในกรณีของ Ransomware ก็จะโดน Encrypt ไปด้วย
  • โน๊ตบุ้คหาย (หรือโดนรถทับ หล่นน้ำ) : อันนี้ต่อให้มีประกันภัย ก็ช่วยอะไรไม่ได้เลยนะ ได้แต่ค่าเครื่องคืนมา

2) System Restore / Volume Shadow Copy

Windows นั้น มีความสามารถในการจัดเก็บ "Snapshot" ประมาณว่ามันเป็นจุดเซฟ แบบเวลาเราเล่นเกมเอาไว้ได้ โดยใช้ระบบ Volume Shadow Copy ซึ่งมันจะทำการจับข้อมูลปัจจุบันของ Drive (Volume) เก็บเอาไว้ ทำให้เราสามารถ "โหลดเซฟ" ย้อนกลับไปจุดต่างๆ ที่เราต้องการได้ โดยความสามารถนี้จะซ่อนอยู่ในฟีเจอร์ที่เรียกว่า System Restore ที่หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกันนั่นเอง (แต่บางทีพอเปิดมา มันก็บอกว่าไม่มี Restore Point แบบในภาพนั่นแหละ เหอๆๆๆ)

แน่นอนว่า แบบนี้ ก็ยังไม่พ้นจากบางกรณีที่ยกตัวอย่างไปในหัวข้อที่แล้วอีกอยู่ดี โดย Ransomware ที่ฉลาด ก็จะทำการลบ Snapshot ออกด้วย โดยเฉพาะหลายๆ ท่าน ที่ยังไม่ยอมใช้ User Account Control (ที่มันขึ้นหน้าต่างให้ต้องกด Yes เวลาจะทำอะไรกับเครื่อง) โปรแกรม Ransomware ก็สามารถเรียกคำสั่งเพียงแค่คำสั่งเดียว ลบ Snapshot ทั้งหมดออกได้ทันที

3) ทำ RAID 1 หรือ RAID 5

สำหรับการทำ RAID นั้น ถึงแม่ว่า ในทางเทคนิค มันดูเหมือนว่าข้อมูลจะปลอดภัยมากๆ อย่าง RAID 5 มี Disk อีกตัวนึง ใช้สำหรับซ่อมข้อมูลที่เสียเลยโดยเฉพาะอีกต่างหาก แต่ต้องอย่าลืมว่า RAID มาจากคำว่า Redundany Array of Independent Disks ก็คือมันเป็นแค่ Disk หลายๆ ตัว รวมกัน เพื่อจุดประสงค์ให้มัน "Redundant" หรือ ทำงานแทนกันได้ ไม่มี Downtime จุดประสงค์จริงๆ ของมัน ไม่ได้เอาไว้เพื่อ Backup ข้อมูล (ซะทีเดียวนะ)

สำหรับความเสี่ยงจากการใช้ RAID จะมาจากสองจุดคือ

  • Hard Disk 2 ตัวที่ทำ RAID 1 พังพร้อมกัน : โดยทั่วไปแล้ว เวลาเราทำ RAID 1 เรามักจะซื้อ Disk ยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน พร้อมกันสองตัว ด้วยเหตุที่ว่ามันสะดวกดี ทั้งสองตัวก็เริ่มทำงานพร้อมกัน หมุนไปพร้อมกัน และก็หมดอายุขัยพร้อมๆ กันนั่นแหละ!!! ซึ่งพวกกล่อง NAS หรือ Windows มันก็จะเตือนเรานะ แต่กว่าเราจะขยับตัว ไปซื้อ Disk ตัวใหม่มาเปลี่ยน ก็อีกตัวมันอาจจะพังตามไปด้วยกันเลยก็ได้

    นอกจากนี้ อุปกรณ์อย่าง Hard Disk จะมีค่าที่เรียกว่า MTBF (Mean Time between Failures) หรือ เวลาที่มันจะเสียโดยเฉลี่ย ซึ่ง MTBF จะถูกหารตามจำนวน Disk แบบเดียวกันที่เรามี ก็คือ เรามี Hard Disk 4 ตัว รุ่นเดียวกัน ระยะเวลาที่เราจะเจอ HDD เสีย 1 ตัว ก็จะลดลงเหลือ 1 ใน 4 เลยล่ะ อาจจะฟังดูน่าจะนาน แต่ว่าในกรณีของเราเอง ผมไม่เคยคิดเลยว่า CPU มันจะเสียได้ เราเพิ่งขายเครื่องที่ใช้ CPU Desktop ไปแค่ประมาณ 200 ตัว ก็มี CPU ที่ต้องส่งเคลมแล้ว 4 เคส เหมือนกัน!~
  • ข้อมูลของ Disk ใน Array ถูก Copy ถึงกันหมด : ถึงแม้ว่า RAID 1 จะมีข้อมูลอยู่ใน Disk 2 ตัว แต่ว่า สิ่งที่เราทำกับข้อมูล ก็จะถูก Copy ไปแบบเกือบจะ Real-time ไปถึง Disk อีกตัว ดังนั้น มันไม่สามารถป้องกันความสะเพร่าของเราเองได้ (อย่างเช่น กรณีลืม Save As หรือ เผลอไปลบ ที่กล่าวไว้)

นอกจากนี้ ผมเองก็ยังเคยเจอเคสที่ใช้ Hardware RAID เพื่อความเร็ว แล้วเกิดตัว Hardware ดันเสีย ถึงแม้ Disk ไม่ได้เสีย แต่ก็เอาข้อมูลจาก Disk ออกมาไม่ได้ เพราะว่าต้องเปลี่ยนตัว Hardware รุ่นเดิมยี่ห้อเดิม ซึ่งดันหาไม่ได้แล้ว เป็นต้น (RAID สมัยนี้โดยส่วนมาก อย่างในกล่อง NAS จะเป็น Software RAID ก็คือ ใช้ความสามารถของ OS ในการทำ RAID ทำให้ไม่เจอเคสนี้แล้ว)

4) Sync ไฟล์ระหว่างเครื่อง

การ Sync ระหว่างเครื่อง ดูว่าปลอดภัย เพราะว่าข้อมูลกระจายอยู่หลายเครื่อง แต่ว่าสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และมันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเลย ก็คือ มันจะ Sync การลบไปด้วย เคสนี้ก็เคยเกิดกับบริษัทใหญ่ๆ มาแล้วอยา่ง Pixar ลองตามไปอ่านได้ 

และโปรแกรม Sync หลายตัว จะไม่ได้ทำการเปิดการเก็บเวอร์ชั่นเก่าของไฟล์เอาไว้ นั่นก็คือถ้าเราเผลอลบไฟล์ การลบก็จะกระจายไปทุกเครื่องทันที หรือถ้าเราแก้ไฟล์ผิดแล้วเซฟ ไฟล์นั้นก็จะกระจายไปทุกเครื่องทันทีอีกเช่นกัน เป็นเรื่องสำคัญเลยที่ต้องอย่าลืมว่าจุดประสงค์ของโปรแกรม Sync พวกนี้ ไม่ได้เอาไว้เพื่อทำ Backup แต่ว่าเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้ไฟล์ที่เราใช้ อยู่บนทุกเครื่งที่เราใช้งานมากกว่านะ

(ส่วนกรณีของ Pixar โชคดีมากที่มี Technical Director หญิงท่านนึง เพิ่งคลอดลูก ก็เลย Sync งานไปทำงานที่บ้าน และยังไม่ได้ Sync ข้อมูลใหม่มา ก็เลยมี Copy ของงานเมื่อสองสัปดาห์ก่อนอยู่ แต่มหากาพย์นี้ยังไม่จบดีนะ เพราะว่ามีเรื่องของการวางแผน Backup ผิดด้วย ทำให้สุดท้ายไม่สามารถกู้ข้อมูลทั้งหมดมาได้โดยง่ายอยู่ดี)

5) Copy ไว้ใส่ External Hard Disk, USB Flash Drive, NAS Storage หรือ คาภาพเอาไว้ใน SD Card หลังจากก็อปออกมาแล้ว

ตัวเลือกนี้ก็จะดีขึ้นมาเกือบที่สุดแล้ว เพราะว่าลดความเสี่ยงจากการ เผลอลบ ติดไวรัส หาย ได้ เพียงแค่รู้จักกับหลักการ Backup เพิ่มขึ้นอีกหน่อย ก็จะปลอดภัยเกือบดีที่สุดแล้ว เพราะว่า ข้อมูลที่เก็บ ไม่สามารถถูกเรียกใช้ได้ง่ายๆ (เท่ากับมันโดนทำลายได้ยากขึ้น) แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการ Backup ซะทีเดียว เพราะว่าเรายังไม่ได้เอาหลักการ และ วิธีการ Backup ที่ถูกต้องมาใช้ 

แต่สำหรับ NAS Storage ที่ไม่ต้องใช้ Password ในการเข้าไปเขียนข้อมูล อันนี้ถือว่าแทบจะเหมือนกับการที่เสียบ HDD ทิ้งไว้ในเครื่องเลยนั่นแหละ ก็คือ อาจจะโดนไวรัสหรือ Ransomware ติดได้อยู่ดี

เทคนิควิธีการ Backup (Backup Methodology)

ส่วนกรรมวิธี (Method) ที่เรียกว่าเป็นการ Backup ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกับ แนวทาง (Strategy) มีดังนี้

  • Full - แบบนี้ก็คือการ Copy ข้อมูลทั้งหมดเก็บไว้ ซึ่งจะใช้เวลานาน และเปลืองพื้นที่จัดเก็บ ถ้าเรา Backup ทุกวัน และอยากได้ดูข้อมูลย้อนหลังได้ 1 เดือน ก็เท่ากับเราต้องใช้พื้นที่ 30 เท่า ของพื้นที่ที่ใช้งานจริงเลยทีเดียว
  • Incremental - จะเป็นการ Copy เฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การ Backup ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเป็น Full หรือ Incremental ก็ได้ แน่นอนว่า แบบนี้ก็จะใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยลง เพราะเก็บเฉพาะข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ในการดูข้อมูลย้อนหลัง จะต้องเอา Incremental ทั้งหมด มาดู เพื่อให้เห็นเป็นภาพของข้อมูลทั้งหมด การกู้คืนข้อมูลจะทำได้ยากกว่า และจะต้องใช้โปรแกรมที่เป็นคนทำ Backup แบบนี้เท่านั้น ในการกู้คืน
  • Differential - อันนี้ก็จะเป็นการเก็บข้อมูลเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่ว่าจะอ้างอิงเฉพาะจาก Full Backup เท่านั้น

ส่วนการที่เรา Copy เอาเองเก็บไว้ ในหัวข้อที่ผ่นามา แบบนั้นจะเรียกว่าเป็น Unstructured Backup ก็คือมันสามารถ Backup ได้ในระดับถึง แต่การ Copy เฉยๆ อาจจะทำให้การกู้คืนข้อมูลทำได้ไม่ง่ายนัก หรืออาจจะกู้คืนไม่ได้เลย เพราะเราไม่ได้เอาองค์ความรู้ ของคนที่เคยโดนมาก่อนเราแล้ว (ข้อมูลหาย) มาใช้นั้นเอง

หลักการ และ แนวทางการ Backup (Backup Strategy)

สำหรับหลักการ / แนวทาง Backup ที่ "ถูกต้อง" นั้น ผมคิดว่าไม่มีกฎตายตัวและแนวทางที่ใช้ได้กับทุกคน ขึ้นอยู่กับการวางแผนของแต่ละเคสไป ผมเคยอ่านบล็อก ของคุณ Scott Hanselman ซึ่งเป็นคนดังในแวดวง Developer ฝั่ง Microsoft แกเล่นเอา Backup ใส่ HDD แล้วไปใส่ตู้เซฟธนาคารเลยทีเดียว

ส่วนในเคส Extreme สุด ก็จะมีโครงการของ GitHub ที่จะ Backup เอา Source Code ที่สำคัญๆ สำหรับมนุษยชาติ (เพราะปัจจุบัน โปรแกรมส่วนมากก็เอา Open Source มาใช้) ใส่ฟิลม์ที่อยู่ได้นาน 5,000 ปี แล้วเอาเก็บใส่ Vault ในขั้วโลกกันเลยทีเดียว!!!

สำหรับหลักการที่มีคนพูดถึงบ่อยๆ เรียกว่า "3-2-1 Rule" หรือ "กฏ 3-2-1" (ลองดู https://www.us-cert.gov/sites/default/files/publications/data_backup_options.pdf) ก็คือ

  • 3 Copy - ข้อมูลต้องมี 3 Copy เสมอ ก็คือ ตัวต้นฉบับ กับ 2 Copy
  • 2 Media - ควรใช้ Media สองแบบแยกกัน เช่น ใช้ HDD กับ DVD เป็นต้น อย่าใช้ HDD ทั้งคู่ หรืออย่าเอาทั้ง 2 Copy เก็บไว้ด้วยกัน
  • 1 Offsite - เก็บ 1 Copy ไว้ที่อื่น เช่น เอา Backup ของไฟล์รูปกับวีดีโอไว้ตู้เซฟที่ทำงาน หรือ เอา Backup ไฟล์งานเก็บไว้ในตู้เซฟที่บ้าน

และที่ขาดไม่ได้เลย คือ หลังจาก Backup แล้ว ต้องหมั่นคอยทดสอบด้วย ที่เรา Backup ไว้เนี่ย มันเอามาใช้กู้คืนข้อมูลได้จริงหรือเปล่า

แล้ว LEVEL51 ใช้วิธีการ Backup แบบไหน?

เรื่องของการหาระบบในการ Backup ผมเองก็ค้นหามายาวนานมาก โดยผมได้เริ่มทดสอบหลายๆ วิธีมาเรื่อย ซึ่งจริงๆ แล้วก็แทบจะตามหัวข้อแรกที่กล่าวมาให้ฟังเลยนั่นแหละ ข้อหยิบประสบการณ์มาเล่าให้ฟังกันตามนี้

ความพยายามแรก: ใช้ FastCopy ทำการ Copy ไฟล์ทุกคืน ไปที่กล่อง NAS ที่ทืำ RAID 1 และเข้าไปยังบริการ Cloud ของ Microsoft (Windows Azure File Share) แต่ประสบปัญหาเรื่องความช้าในการ Backup แต่เนื่องจากว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ตอนนี้มันก็ยังคงทำงานอยู่ระหว่างรอที่จะพบกับหนทางที่ดีกว่า เหอๆ

ข้อดี ข้อด้อย
  • เข้าใจง่ายดี เพราะมันแค่ Copy ธรรมดา
  • ไม่สามารถเก็บเวอร์ชั่นได้
  • เอาไฟล์คืนมาง่าย เพราะว่าสามารถเปิดเอาไฟล์จากกล่อง NAS ได้เลย ถ้าเกิดว่าจะเอาไฟล์ของเมื่อวานนี้กลับมาใช้ และถ้ากล่อง NAS เสีย ก็เอากลับมาจาก Cloud ได้
  • ใช้เวลา Copy นานมากสำหรับไฟล์ใหญ่ เช่น ไฟล์ VHD เพราะว่าจะต้องก็อปไฟล์ทั้งไฟล์ขึ้นไปใหม่ทั้งหมด บางทีเช้าแล้ว ยัง Backup ไม่เสร็จ 

 

  • เสี่ยงต่อการลบผิด หรือเปิดมาแก้แต่ลืม Save-As ที่บอกไป
 
  • ยังคงกังวล กลัวว่า HDD ใน NAS จะเสีย และไม่แน่ใจว่าข้อมูลถูกก็อปปี้ไปยัง Cloud ทั้งหมดจริงหรือเปล่า จากการที่มันก็อปนาน
  • พื้นที่ Azure Fire Share มีราคาต่อ GB ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับบริการเก็บข้อมูลแบบอื่นๆ ของ Azure

ความพยายามที่สอง: OneDrive, Dropbox, Google Drive - น่าจะเป็นตัวเลือกที่ทุกท่านคิดถึงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อคิดจะ Backup ข้อมูล แต่ลองแล้วมันเหมือนจะถูกออกแบบมาให้เป็นพื้นที่สำหรับแชร์ไฟล์กันมากกว่า ความสามารถในการแบ็คอัพมีน้อย

ข้อดี ข้อด้อย
  • ลงโปรแกรม ก็ใช้ได้เลย มีพื้นที่ให้ใช้ฟรีจำนวนหนึ่ง
  • พื้นที่ฟรีมีน้อยเกินไปสำหรับงานของเรา รายเดือนก็ค่อนข้างแพง
  • ดูไฟล์จากที่ไหนก็ได้ ที่มีอินเตอร์เน็ต
  • ต้องกดดูทีละไฟล์ถ้าต้องการจะเลือกเวอร์ชั่นที่ต้องการกลับมา (มันไม่ได้เก็บเป็นก้อนๆ Backup ไว้)
 
  • เสี่ยงต่อการลบผิด หรือลืม Save-As เหมือนเดิม และก็รู้สึกว่ายังอัพโหลดช้า แต่เหมือนว่า Dropbox จะ Sync ได้เร็วกว่าเพื่อน
  • เก็บเวอร์ชั่นได้ สำหรับไฟล์เอกสาร สำหรับ OneDrive และ Google Drive ส่วน Dropbox สามารถเก็บไว้ได้ทุกชนิด
  • สำหรับ Dropbox เก็บได้แค่จำกัดเวลา ต้องรู้ตัวว่าเซฟผิด ภายใน 30 วัน หรือ 180 วัน ส่วน OneDrive/Google Drive มีจำกัดจำนวนเวอร์ชั่นที่เก็บไว้ได้ แต่ว่าเป็นไฟล์เอกสาร
  • สำหรับ OneDrive, Dropbox จะถูกล็อคไว้กับโฟลเดอร์ใดโฟลเดอร์หนึ่งในเครื่อง ถึงจะ Sync ได้ ถ้าเรามีงานแยก HDD/SSD กัน ไม่สามารถใช้ได้สะดวก

ความพยายามถัดมา: ใช้ BTSync, Syncthing - ตัวเลือกแรกๆ สำหรับการ Sync แต่ก็ไม่ค่อยต่างจาก Dropbox, OneDrive, Google Drive เท่าไหร่ เพราะมันออกแบบมาสำหรับให้ Sync ไม่ได้ให้ Backup

ข้อดี ข้อด้อย
  • เริ่มใช้ค่อนข้างง่าย แค่ลงโปรแกรม
  • ต้องมีเครื่องสำหรับลงโปรแรกม Sync และต้องเปิดไว้ตลอด 
  • สำหรับ Syncthing ตัวหน้าจอค่อนข้างเข้าใจยาก เซ็ตผิดๆ ถูกๆ อยู่นานกว่าจะหากันเจอ และบางทีมันก็ไม่ยอม Sync กันซะเฉยๆ
  • Sync เร็วและตลอดเวลา เก็บเวอร์ชั่นได้ ข้อมูลส่งเป็นชิ้นเล็กๆ
  • เสี่ยงต่อการลบผิด หรือลืม Save-As เหมือนเดิม
  • ถ้าจะเอาไฟล์ทั้ง Folder กลับมาให้เป็นของวันเดียวกันทั้งหมด ก็ต้องนั่งเลือกทีละไฟล์เอาเอง โดยไฟล์ที่เป็นเวอร์ชั่นจะเก็บอยู่ใน Folder เดียวกับไฟล์นั้น

ความพยายามล่าสุด : ใช้ Windows File History, โปรแกรมสำหรับ Backup ชื่อ Duplicati

ข้อดี ข้อด้อย
  • เป็นการ Backup จริงๆ ไม่ใช่แค่การ Sync หรือว่า Copy เหมือนที่ผ่านมา มีการเก็บเวอร์ชั่น แยกข้อมูลเต็มรูปแบบ
  • สำหรับ Windows ต้องมี HDD หรือ NAS เปิดทิ้งไว้ ซึ่งเสี่ยงจากการถูก Ransomware/Virus ทำลายข้อมูล หรือไม่ก็เราเองนั่นแหละ
  • สำหรับ Duplicati สามารถ Backup ใส่ Cloud/FTP Server ได้ ทำให้ไม่ต้องมี NAS ปล่อยโล่งไว้ให้ Ransomware โจมตีได้โดยง่าย
  • Duplicati พยายามจะเก็บไฟล์เป็น Block เพื่อลดปริมาณข้อมูลที่ใช้เก็บ Backup ทำให้ต้องเก็บข้อมูลด้วยไฟล์ในรูปแบบที่ไม่ปกติ (สำหรับ Windows ข้อมูลจะเซฟไว้เป็นไฟล์ Zip เฉพาะข้อมูลที่เปลี่ยน)
  • สำหรับ Duplicati เป็นการออกแบบมาเพื่อทำ Offsite Backup โดยเฉพาะ ทำให้มีการเก็บข้อมูลเป็นแบบ Block เพื่อประหยัดที่เก็บ และข้อมูลที่ต้องส่งไป
  • ด้วยความที่เป็นการเก็บข้อมูลที่แปลกประหลาดแบบนี้ โอกาสผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้ และเวลาที่ต้องการจะเอาข้อมูลกลับมา ก็จะต้องใช้โปรแกรม Duplicati เองเท่านั้น ซึ่งอาจจะมี Breaking Change ในโปรแกรมที่ทำให้ใช้กับ Backup เก่าไม่ได้ (สำหรับ Windows เองก็มีแยก Windows 7 Backup กับ Windows Backup ด้วย
  • Duplicati มีการดาวน์โหลดข้อมูลเยอะมากจาก Server เวลาที่จะ Backup เหมือนว่าจะเป็นหลุมพรางในการออกแบบ และเอาเข้าจริง ไฟล์ขนาดใหญ่ บางทีก็จะไม่เปลี่ยนแปลงมากขนาดนีั้นนะ ส่วนมากจัะเป็นการเติมข้อมูลไปที่ท้ายไฟล์มากกว่า ไม่ค่อยเจอไฟล์ที่ลบทิ้งเขียนใหม่
  • ส่วน Windows Backup น่าจะออกแบบสำหรับใช้กับ NAS, External HDD มากกว่า เพราะ ก็ต้องส่งไฟล์ที่เปลี่ยนไปทั้งไฟล์เลยเหมือนกัน 
  • เวลา Restore สามารถเลือกตามวันที่ที่ Backup ได้เลย และข้อมูลจะเป็นของเวลานั้นทั้งหมดเป็นชุดเดียวกัน
  • สำหรับ Duplicati เวลาจะ Restore ต้องใช้ Interface ที่เป็นหน้าเว็บ ทำให้เลือกไฟล์ลำบาก

หลังจากที่ลองมาทั้งหมดนี้แล้ว ก็เลยได้ข้อสรุปว่า~ ทำเองละกัน!

ที่ทำเองจะดีกว่าคนอื่นยังไง?

สาเหตุที่ผมตัดสินใจเขียนขึ้นมาเอง ก็เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผมเจอกับโปรแกรม Backup ทั้งหลาย ที่ไม่ถูกใจซะทีนั่นแหละ โดย Goal ของการออกแบบ มีหลักๆ สามอย่างเลยคือ

  • ความสะดวกในการเอาข้อมูลกลับมา : ต้องให้ความรู้สึกเหมือนว่า ไฟล์ Backup มันถูกเก็บไว้เป็นไฟล์ เหมือนการก็อปปี้ใส่ External Hard Disk / NAS ถ้าอยากเอาข้อมูลกลับมาเมื่อไหร่ ก็เปิด Windows Explorer แล้วก็อปไฟล์ออกมา หรือเปิดดูด้วยโปรแกรมได้เลย แต่ว่ามีความปลอดภัย ไม่ถูกเขียนทับหรือทำลายได้โดย Malware/Ransomware
  • ความเร็วในการ Backup ข้อมูล : สำหรับผมที่งานมีทั้งไฟล์เล็กๆ ยิบย่อย (เช่น โค๊ดเว็บ) ที่ไม่ได้เปลี่ยนบ่อยมากนัก และไฟล์ขนาดใหญ่อย่างไฟล์วีดีโอ การ Backup สำหรับไฟล์ที่ไม่เปลี่ยนก็ไม่ต้องเซฟลงไป ส่วนไฟลใหญ่ๆ ก็ส่งไปเฉพาะชิ้นที่เปลี่ยน ก็คือครั้งแรกทำ Full Backup ครั้งเดียว จากนั้นเป็น Incremental Backup ไปเรื่อยๆ
  • เปิดดูไฟล์ได้ง่าย  : ความพยายามที่ผมจะใช้พวกโปรแกรม Sync ทั้งหลาย ก็ด้วยเหตุนี้ ก็คือบางทีออกมาข้างนอก ไม่ได้หยิบคอมพ์มาด้วย และเกิดอยากจะต้องใช้ไฟล์ในเครื่อง หรือว่า ไฟล์ที่เก็บอยู่บน Server ในออฟฟิศขึ้นมา ก็มีไฟล์ให้ดูตลอดเวลา
     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

BLOG

LEVEL51 คือใคร?

เราเป็นบริษัทโน๊ตบุ้คของคนไทย ใช้เครื่องจากโรงงาน CLEVO แบบยี่ห้อดังในต่างประเทศ ที่คุณสามารถเลือกสเปคเองได้เกือบทั้งเครื่อง ถ้าโน๊ตบุ้คและคอมพิวเตอร์ของคุณ คืออุปกรณ์สำคัญในการทำงาน นี่คือเครื่องที่ออกแบบมาสำหรับคุณ

1317
ลูกค้าที่รักเรา
0
เครื่องเกินแสนบาท
49
K
มูลค่าเครื่องโดยเฉลี่ย
0
K
สถิติเครื่องแพงสุด

ลูกค้าหน่วยงานราชการและมหาวิทยาลัย

ลูกค้ากลุ่ม Video Production, 3D Design, Software House

Landscape Design

ลูกค้ากลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมและก่อสร้าง

 

 

 

พิเศษเฉพาะคุณ - รับคูปองส่วนลด 2,000 บาท สำหรับการสั่งซื้อเครื่องกับเรา